real estate menu left
real estate menu right

 

1. ช่วยป้องกันสารที่ต่อต้านการยึดเกาะของซีเมนต์ (Cement Poison Protection System : CPPS)

 

 

โดยทั่วไปแล้วในดินจะมีสารที่ต่อต้านการยึดเกาะของซีเมนต์ เช่น เกลือ ซึ่งจะทำให้ปฏิกิริยาการรวมตัว และยึดเกาะของซีเมนต์กับดินเป็นไปได้ไม่เต็มที่ การสร้างฐานถนนทั่วไปจึงไม่แข็งแรง และไม่คงทน

สารสังเคราะห์ CHEM ROAD จะทำหน้าที่เคลือบห่อหุ้มสารเหล่านั้นไม่ให้สามารถทำปฏิกิริยาต่อต้านการยึดเกาะที่ดี จึงสามารถนำวัสดุหรือดินส่วนใหญ่ในพื้นที่ก่อสร้างมาใช้ในงานก่อสร้างได้ ฐานถนนที่ใช้ CHEM ROAD จึงมีความคงทนแข็งแรง

 

2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายน้ำในช่วงทำปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์ (Water Supply System : WSS)

 

 

ในกระบวนการบ่มคอนกรีตนั้น ปริมาณน้ำที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อให้ซีเมนต์สามารถทำปฏิกิริยากับวัสดุอื่นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าปริมาณน้ำไม่เพียงพออาจเกิดปรากฏการณ์ขาดน้ำ (DIE of Thirst) เกิดขึ้นระหว่างการรวมตัวของซีเมนต์กับวัสดุอื่นๆ ปริมาณน้ำส่วนหนึ่งจะลดลงเนื่องจากการระเหยไปด้วยความร้อนของอากาศ ทำให้ซีเมนต์ไม่สามารถทำปฏิกิริยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเกิดร่องลึกในคอนกรีต ทำให้คุณสมบัติการรับน้ำหนักลดลงกว่าที่ควร เป็นผลให้เกิด Void ขึ้นในคอนกรีต ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ก่อให้เกิดการแตกร้าวหรือ Pot-Hole ได้เมื่อมีน้ำหนักมากดทับ

 

 

เมื่อใช้สารสังเคราะห์ CHEM ROAD เป็นส่วนผสมสารสังเคราะห์ ก็จะสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้บางส่วน ซึ่งจะช่วยชดเชยปริมาณน้ำที่ระเหยไปในช่วงทำปฏิกิริยาของซีเมนต์ และช่วยควบคุมความชื้นในคอนกรีตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงสามารถแจกจ่ายน้ำได้ย่างทั่วถึง (Adequate Water Supply) สามารถลดการเกิดปรากฏการณ์ขาดน้ำ (Die of Thirst)


ดังนั้นปฏิกิริยาการบ่มคอนกรีต (Hydration) จึงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยไม่เกิดรอยแตกร้าวบนผิวคอนกรีต ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง และจะไม่มีปัญหาการเกิด Pot–Hole เป็นผลให้การแตกร้าวระหว่างการหดตัวในชั้นพื้นทางของถนนที่ใช้ CHEM ROAD มีน้อยที่สุด

 

3. ช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำ (Water Penetration Protection System : WPPS)

ในการสร้างถนนทุกประภท สิ่งสำคัญที่สุดคือฐานถนน (Road Base) หากฐานถนนแข็งแรง ตัวถนนทั้งหมดก็คงจะคงทนถาวรไปด้วย หากไม่แข็งแกร่งพอ มีการแตกร้าวหรือ ยุบตัวได้ง่าย ถนนก็จะเสื่อมสภาพไปอย่างรวดเร็ว

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัวถนน หรือฐานแตกร้าวยุบง่าย คือการซึมผ่านของน้ำ ในการก่อสร้างถนนนั้น ช่วงระหว่างการบ่มคอนกรีตจะเกิดช่องเล็กๆขึ้น เรียกว่า “แนวน้ำซึม” (Capillary) ทำให้น้ำสามารถซึมผ่านเข้าไปในเนื้อคอนกรีตได้ ไม่ว่าจะซึมจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นมาก็ตาม น้ำที่สะสมอยู่ในเนื้อคอนกรีตจะมีผลเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง คือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะเกิดไอน้ำตามแนว “ตามด” ในคอนกรีต และเมื่ออุณหภูมิต่ำมากน้ำจะแข็งตัว ซึ่งทั้งสองประการนี้ก่อให้เกิดปัญหาการแตกร้าวภายในคอนกรีต (Pot Holes)

 

 

การใช้สารสังเคราะห์ CHEM ROAD ผสมซีเมนต์กับวัสดุก่อสร้างอื่นๆ เช่น ดิน หิน กรวด ทราย เปรียบเสมือนการใส่กาวลงไปให้ซีเมนต์กับวัสดุดังกล่าว รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันอย่างแน่นหนา โดยเฉพาะถ้าใช้ผสมกับดินซีเมนต์เพื่อทำฐานถนน เมื่อแห้งแล้วจะมีความแข็งแกร่งดุจคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยช่องทางที่จะทำให้น้ำซึมผ่านผิวเข้าไปในเนื้อฐานถนนจะถูกปิดกั้นด้วยกาวจากสารสังเคราะห์ CHEM ROAD เมื่อน้ำซึมผ่านไม่ได้ฐานถนนก็จะมีความคงทนแข็งแรง ไม่แตกร้าว ไม่ยุบตัว


สารสังเคราะห์ CHEM ROAD สามารถเพิ่ม MICRO-PORES ซึ่งจะเกิดขึ้นในระดับความลึกที่แตกต่างกันในเนื้อคอนกรีต มีคุณสมบัติในการปิดกั้นการซึมผ่านของน้ำในแนวน้ำซึม ทำให้การซึมผ่านของน้ำในเนื้อคอนกรีตหยุดลง และลดปัญหาการแตกร้าวจากภายในคอนกรีตได้ (Pot Holes) ช่วยขจัดปัญหาความเสียหายของถนนทั้งในประเทศเขตร้อน และหนาวได้

 

 

4. ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของฐานถนน (Flexibility System : FS)

 

 

สารสังเคราะห์โพลีเมอร์ CHEM ROAD สามารถสร้างโครงข่าย Micro Rubber Bands ทำให้เกิดโครงสร้างที่มีความยึดเหนี่ยวแข็งแรง และมีความยืดหยุ่นสูง พื้นถนนสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อแรงที่มากระทำต่อพื้นผิวผ่านพ้นไป

 

 

ถนนแบบธรรมดาทั่วไป (Conventional) ฐานถนนจะแบ่งเป็นชั้นๆ การรับน้ำหนักจึงไม่เหมือนกันในแต่ละจุด เมื่อถนนรับน้ำหนักในแต่ละจุด น้ำหนักส่งแรงลงไปถึงฐานถนนทุกชั้น นานๆไปการรับน้ำหนักจะไม่คงที่ และเมื่อน้ำหนักเกินตัว ชั้นของถนนจะเกิดการยุบตัวเป็นรอยแตกยุบ (Furrows)

 

 

ฐานถนนที่ใช้สารสังเคราะห์โพลีเมอร์ CHEM ROAD ผสมกับซีเมนต์ และดินในพื้นที่ จะเป็นฐานพื้นถนนที่เป็นชั้นเดียวกันโดยตลอด ซึ่งมีความยืดหยุ่นตัว (Flexibility) สูงขึ้น สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากแรงกดได้ดี เพราะจะกระจายน้ำหนักที่มากระทำเฉลี่ยเท่าๆกัน บริเวณที่เกิดแรงกระทำต่อเนื่องด้วยแรงกดน้ำหนัก เมื่อแรงกดน้ำหนักผ่านจุดรับน้ำหนักไปแล้ว ฐานถนนจะกลับมาอยู่สภาพเดิม และสามารถรับน้ำหนักได้เป็นระยะเวลานาวนานกว่าการสร้างถนนแบบดั้งเดิม

สรุป ถนนที่มีฐานแข็งแรงมีความยืดหยุ่นตัวสูง จะสามารถรับน้ำหนัก/ แรงกดได้มากขึ้น นานขึ้น ไม่สิ้นเปลือง และลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การบำรุงรักษา เนื่องจากอายุของถนนใช้งานได้ยาวนาน

 

 



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved Chemroad.com
J Smith Holding Co.,Ltd. 301/344 Prachachuen 12 Yak 1-2-35 Thongsonghong Laksi, Bangkok 10210 Thailand
Tel. 02-589-9586, (66)81-633-2992, (66)86-633-2992