real estate menu left
real estate menu right

 

จากการศึกษาและตรวจสอบสภาพถนนที่ได้ทำการก่อสร้างจริง โดยใช้พื้นทางเป็น Polymer Chemroad โดยศึกษาทั้งสภาพทางกายภาพของพื้นที่ที่ทำการก่อสร้าง การทดสอบใน ห้องทดลองและเก็บข้อมูลการจราจรของรถที่วิ่งผ่าน สามารถสรุปผลจากการใช้ Polymer Chemroad ดังต่อไปนี้

1. การเพิ่มความยืดหยุ่น ซีเมนต์ที่เซ็ตตัวแล้วมักจะ มีความแข็งแต่เปราะ โดยไม่มีความยืดหยุ่นในตัวเอง การใช้ Polymer จะไปช่วยในเรื่องของความยืดหยุ่น เนื่องจากใน Polymer มีโพลิเมอร์ สังเคราะห์เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการนี้ ผลจากการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ซีเมนต์โดยไม่ทำให้กำลังลดลง จะทำให้ความเสียหายของถนนเนื่องการเสียรูปถาวรลดลงไปได้อย่างมาก การคืนรูปของถนน Polymer Chemroad เมื่อน้ำหนักรถวิ่งผ่านไปจะประสิทธิภาพดีขึ้น

2. การลดรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นทั้งที่ผิวหน้าและภายใน จากการเป็นตัวประสานระหว่างซีเมนต์กับเม็ดดิน ทำให้วัสดุที่ไม่สามารถยึดเกาะกับซีเมนต์สามารถยึดเกาะกับซีเมนต์ได้ดีขึ้น การแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำจะลดลง เนื่องจากใน Polymer มีเซลลูโลสเป็นตัวเก็บกักน้ำ ซึ่งจะช่วยในการกระจายน้ำเมื่อเกิดการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหยการลดรอยแตกภายในของดินซีเมนต์จะมีผลต่อการรับแรงของดินซีเมนต์อย่างมาก เนื่องจากดินซีเมนต์ ที่มีรอยแตก ค่า Elastic Modulus จะลดลงไปอย่างมาก Polymer Chemroad จึงสามารถรับน้ำหนักจากการจราจรได้ดีกว่า เนื่องจากค่า Elastic Modulus ที่สูงกว่า โดยเฉพาะถนนที่ต้องรับน้ำหนักการจราจร จากรถบรรทุกหนักเกินพิกัดในปริมาณสูง จากการทำหน้าตัดทดสอบเปรียบเทียบผลจากการรับน้ำหนักรถบรรทุกจริงๆ พบว่า Polymer Chemroad จะเกิดความเสียหายในลักษณะของ crack น้อยกว่าดินซีเมนต์ธรรมดาอย่างมาก ที่น้ำหนักและจำนวนเที่ยวเท่ากัน

3. การตัดปัญหาในการควบคุมปริมาณปูนซีเมนต์ให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนด ทำให้การก่อสร้างถนนที่มีความจำเป็นต้องให้กำลังสูงๆ สามารถทำได้โดยไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ดินที่นำมาใช้เป็นวัสดุผสมสามารถที่จะใช้ได้หลากหลายขึ้น ทำให้สามารถใช้ดินในท้องถิ่นได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งดินที่ตรงตามคุณภาพในระยะทางที่ไกล

4. การลดการซึมผ่านของน้ำ Polymer จะไปช่วยในการอุดช่องว่างที่เกิดขึ้น ภายในของดินซีเมนต์ ด้วยเหตุผลนี้ทำให้โอกาสที่จะเกิดความเสียหายของถนนเนื่องจากกการทำลายของน้ำ จึงน้อยลง เนื่องจากน้ำจากด้านบนและด้านล่างไม่สามารถซึมผ่านชั้นพื้นทาง Polymer Chemroad ได้ ความทนทานของถนนจึงมากขึ้น

 

ข้อดีของการนำ Polymer Soil Stablization มาใช้เป็นชั้นพื้นทางแทนหินคลุก

1. ด้านความแข็งแรงและทนทานของโครงสร้าง

1.1 รอยร่องล้อและหลุมบ่อ พื้นทาง Polymer Chemroad จะถ่ายแรงลงสู่ชั้นล่าง ได้ดีกว่าพื้นทางหินคลุก เนื่องจากมันจะมีลักษณะเป็น semi rigid การถ่ายแรงลงไปในดินชั้นล่างมีพฤติกรรมคล้ายคอนกรีต หน่วยแรงที่เกิดขึ้นในชั้น subgrade จึงต่ำกว่าพื้นทางที่เป็นหินคลุกการทรุดตัวของชั้น subgradeเนื่องจากแรงตามแนวดิ่งซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดรอยร่องล้อ และหลุมบ่อจึงมีโอกาสที่จะเกิดได้น้อยกว่า

1.2 การแตกของแอสฟัลท์คอนกรีต พื้นทางหินคลุกจะเกิด redial tensile strain ใต้ผิวทางแอสฟัลท์คอนกรีต เมื่อแอสฟัลท์คอนกรีตเกิดการล้าจนถึงจุดที่ไม่สามารถรับแรงได้ก็จะเกิดการแตกขึ้น ในขณะที่การใช้ Polymer Chemroad มาเป็นชั้นพื้นทางแทน หินคลุก redial tensile ที่เกิดขึ้น จะย้ายจากใต้ผิวทางแอสฟัลท์ คอนกรีตมาอยู่ใต้พื้นทาง Polymer soil cement การแตกของแอสฟัลท์คอนกรีตจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เกิดการลามของรอยแตกของ Polymer Chemroad เนื่องจาก radial tensile strain จากด้านล่างมาสู่ด้านบนการใช้ Polymer Chemroad จึงยืดอายุของผิวทางแอสฟัลท์คอนกรีตได้ดีกว่า
1.3 น้ำใต้ดิน เมื่อน้ำใต้ดินมีระดับสูงจนถึงชั้น subgrade จะทำให้ชั้น subbase ซึ่งเป็นดินมีสภาพกลายเป็นพลาสติก ซึ่งจะทำให้เกิดการแทรกตัว โดยดินชั้น subbase จะแทรกตัวเข้าไป อยู่ในชั้นพื้นทางหินคลุก และหินคลุกก็จะแทรกตัวเข้าไปอยู่ในชั้น Subbase ลักษณะนี้จะมี ผลทำให้ผิวถนนเกิดการทรุดตัวตามการเคลื่อนตัวของพื้นทางหินคลุกเกิดแอ่ง และหลุมบ่อทั้งขนาดเล็กและใหญ่ทั่วพื้นผิว เมื่อใช้พื้นทางเป็น Polymer Chemroad ดินชั้น subbase จะไม่สามารถแทรกตัวเข้ามาขังชั้นพื้นทาง Polymer Chemroad ก็จะไม่แทรกตัวเข้าไปยั้งชั้น subbase เช่นกัน เนื่องจากการจับตัวกันเป็นแผ่น ดังนั้นจึงไม่เกิดแอ่งที่ผิวของถนน
1.4 ฝน ถนนที่มีพื้นทางเป็นหินคลุกตามปกติแล้วมักจะเกิดแอ่งอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้เกิดน้ำขังได้ และน้ำที่ขังก็จะซึมลงไปทำลายโครงสร้างของชั้นทางทั้งหมด ตั้งแต่ผิวทาง base , subbase เรื่อยไปจนถึง subgrade การแก้ไขปัญหาโดยการใช้พื้นทางเป็น Polymer Chemroad จะไม่เกิดแอ่งโดยง่าย
1.5 Over Load Truck จากการวิจัยและทดสอบพบว่า Polymer Chemroad หนา 7 นิ้ว จะรับน้ำหนักได้มากกว่าหินคลุก 3 เท่าที่ความหนาเดียวกัน ลักษณะนี้จะทำให้มันสามารถรับน้ำหนักรถบรรทุกเกินพิกัดได้ดีกว่าหินคลุกถนนที่มีการจราจรสูงจึงเหมาะสมที่จะออก แบบเป็น Polymer Chemroad เพื่อความทนทานต่อการเกิดรอยร่องล้อจากรถบรรทุกเกินพิกัดเหล่านี้
2. ด้านค่าก่อสร้าง , การซ่อมแซมและบำรุงรักษา
2.1 การขนส่งวัสดุหินคลุกในระยะไกล รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งหินคลุกมักจะบรรทุกเกินพิกัด อันเป็นเหตุให้ถนนถูกทำลายลงมาก เนื่องจากรถบรรทุกที่น้ำหนักเกินพิกัด 2 เท่า จะมีค่าการทำลายถนนเป็น 16 เท่าของรถตามพิกัด ดังนั้นการขนส่งหินคลุกจากโรงโม่ไปยังโครงการที่อยู่ห่างไกลรถบรรทุกหินจะทำลายโครงสร้างถนนตลอดทางที่รถบรรทุกหินผ่าน ยิ่งระยะขนส่งไกลความยาวของถนนที่ถูกทำลายก็มากยิ่งขึ้น การพิจารณาใช้พื้นทางเป็น Polymer Chemroad ก็เพื่อลดการทำลายถนนและส่งเสริมการใช้วัสดุท้องถิ่นในงานก่อสร้างให้มากยิ่งขึ้น
2.2 การก่อสร้างถนนบนภูเขาหรือในหุบเขา การขนส่งหินคลุกเพื่อนำไปก่อสร้างพื้นทางของถนนที่สร้างบนภูเขา หรือ ในหุบเขาจะมีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งมาก เช่น กันรถบรรทุกจะไม่สามารถบรรทุกหินคุกได้ตามขีดความสามารถของรถบรรทุก เพราะไม่สามารถจะขึ้นภูเขาได้ การขนส่งหินคลุกขึ้นไปบนภูเขาทำให้หินมีราคาแพง หากพิจารณาใช้พื้นทางเป็น Polymer Chemroad โดยใช้ดินในหุบเขานั้นเป็นวัสดุผสมจะเหมาะสมกว่ามาก
2.3 การซ่อมแซมและบำรุงรักษา โดยทั่วไปถนนที่ใช้พื้นทางเป็นหินคลุกมักจะเสียหายอย่างรวดเร็ว จะต้องมีการซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา อายุการใช้งานของถนนมักจะไม่ได้ตามที่ออกแบบ ดังนั้นการใช้พื้นทางเป็น Polymer Chemroad จะลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาลงได้อย่างมาก เนื่องจากอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าความแข็งแรงที่สูงกว่า และไม่ต้องมีการซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อยครั้ง
3. ด้านสิ่งแวดล้อม
3.1 สภาพของแหล่งวัสดุ หลายพื้นที่ที่ป็นแหล่งวัสดุหินคลุกมักจะเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ความสวยงามของทิวทัศน์ และอื่นๆ เนื่องจากต้องมีการระเบิดภูเขาเพื่อนำหินคลุกมาใช้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุท้องถิ่นนำมาปรับปรุงคุณภาพโดยการทำเป็น Polymer soil cement เพื่อใช้ทดแทน หินคลุก

3.2 การก่อสร้างในพื้นที่วิกฤต การก่อสร้างตามแนวชายแดนบางแห่งพบว่ามีปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัย และความมั่นคงของประเทศชาติ การใช้ดินระเบิด เพื่อระเบิดหิน และการโม่หินในพื้นที่ดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดความสับสนแก่เจ้าหน้าที่ทางฝ่ายรักษาความปลอดภัย โดยไม่แน่ใจว่าเสียงระเบิดที่ใช้ระเบิดหินจะมาจากการระเบิดหินจริงๆ หรือเปล่า การก่อสร้างทางในพื้นที่วิกฤตเหล่านี้แม้ว่าจะมีแหล่งวัสดุอยู่ก็ตามแต่ก็ไม่เหมาะสมที่จะเอามาใช้งาน เพราะการทำงานบางขั้นตอนของการผลิตหิน อาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ๆ ได้ ในกรณีดังกล่าวอาจจะต้องใช้ Polymer Chemroad แทนหินคลุก

 



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved Chemroad.com
J Smith Holding Co.,Ltd. 301/344 Prachachuen 12 Yak 1-2-35 Thongsonghong Laksi, Bangkok 10210 Thailand
Tel. 02-589-9586, (66)81-633-2992, (66)86-633-2992