real estate menu left
real estate menu right

 

ความเสียหายต่อผิวถนนลาดยาง , ผิวถนนคอนกรีต และผิวถนนลูกรัง

1. ความเสียหายต่อผิวถนนลาดยาง

การชำรุดของถนนลาดยางอาจเนื่องมาจาก การล้าของผิวถนน การทรุดตัวในชั้นดินคันทาง พื้นทางหรือผิวทาง เกิดแรงเฉือนสูงเกินความสามารถของโครงสร้างทาง สังเกตได้จากรอยยุบและการทะลักของดินในบริเวณใกล้เคียง ก่อนทำการซ่อมแซมจะต้องพิจารณาให้ละเอียดจึงจะแก้ไขได้ผลดี

โดยสามารถแบ่งประเภทความเสียหายได้ 8 ประเภท ดังนี้

  1. ผิวถนนแตกลายหนังจระเข้ (Alligator Crack)
  2. เกิดหลุมบ่อบนผิวถนน (Pot Hole)
  3. ผิวทางทรุดเป็นร่องตามแนวล้อ (Ruts)
  4. ทางชำรุดเนื่องจากแรงเฉือน (Shear Failure)
  5. ผิวถนนแตกตามความยาว (Longitudinal Cracks)
  6. ผิวถนนเกิดการเยิ้ม (Bleeding)
  7. การทรุดตัวในดินลึก (Deep Foundation Consolidation)
  8. รอยแตกผลสะท้อนจากผิวทางชั้นล่าง (Reflection Cracking)

2. ความเสียหายต่อผิวถนนคอนกรีต

การชำรุดของผิวทางคอนกรีตมีสาเหตุ 2 ประการคือ

ประการแรก เกิดในตัวคอนกรีตเอง เช่น ใช้ส่วนผสมไม่เหมาะสม มีปูนซีเมนต์น้อยเกินไป หินที่ใช้มีความแกร่งไม่พอ ใช้น้ำไม่สะอาด ผสมคอนกรีต มีสารเคมีปะปน การเสริมเหล็กผิดตำแหน่ง

ประการที่สอง เกิดจากพื้นทาง ดินคันทางไม่แข็งแรงเพียงพอเมื่อมีน้ำหนักยานพาหนะบดทับทำให้เกิดการเสียหาย เช่น การอัดทะลัก (Pumping and Blowing) เกิดรอยแตกบริเวณมุมและรอยต่อของแผ่นคอนกรีต

ประเภทความเสียหายแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ความแข็งแกร่งของคอนกรีต (Durability of Concrete)
  2. ผิวหน้าคอนกรีตหลุดล่อน (Scaling)
  3. รอยแตกเนื่องจากการหดตัว (Shrinkage Cracks)
  4. รอยแตกเนื่องจากเหล็กเดือยฝังยึดแน่น (Frozen Dowel Bars)
  5. รอยแตกเนื่องจากการห่อตัว (Warping Cracks)
  6. รอยแตกเนื่องจากการหดตัวเมื่ออุณหภูมิต่ำ (Contraction Cracks)
  7. การอัดทะลัก (Pumping and Blowing)
  8. ผิวทางคอนกรีตแตกเนื่องจากโครงสร้างไม่แข็งแรง (Structural Breaking)
  9. ผิวทางโก่งแตกเพราะการขยายตัว (Blowup)
  10. การเคลื่อนตัวในชั้นใต้ดินลึก (Deep Foundation Movement)
  11. รอยต่อระหว่างแผ่นคอนกรีตทรุดตัว (Faulted or Depressed Joints)
  12. การบดอัดของล้อเฉพาะแนว (Channelized Traffic)

3. ความเสียหายต่อผิวถนนลูกรัง

  1. ความเสียหายในด้านการใช้งาน (Functional Failure) เช่น ผิวถนนเป็นคลื่นขรุขระ ทำให้การสัญจรผ่านไปมา ไม่สะดวก ต้องใช้ความเร็วต่ำ
  2. ความเสียหายด้านโครงสร้าง (Structure Failure) เช่น ผิวถนนเป็นหลุมบ่อ พื้นทางดินคันทางทรุด

ภาพแสดงปัญหาและสภาพถนนที่ก่อสร้างตามวิธีดั้งเดิม (Conventional method) ซึ่งสภาพ และปัญหาต่างๆเหล่านั้น สามารถแก้ไขด้วย Polymer Chemroad Soil Stabilizer ด้วยคุณสมบัติพิเศษเฉพาะของ Polymer Chemroad

 

ถนนลาดยาง

 

 

 

ถนนคอนกรีต

 

 

ถนนลูกรัง

 

 

 

 



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved Chemroad.com
J Smith Holding Co.,Ltd. 301/344 Prachachuen 12 Yak 1-2-35 Thongsonghong Laksi, Bangkok 10210 Thailand
Tel. 02-589-9586, (66)81-633-2992, (66)86-633-2992