real estate menu left
real estate menu right

ก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างจะต้องมีการเตรียมการดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อให้คุณภาพของงานออกมาดีที่สุด มีอายุการใช้งาน ความแข็งแรง และทนทานเป็นไปตามอายุของถนนที่ได้ออกแบบ

การออกแบบ

1. การออกแบบความหนา – วิศวกรออกแบบจะเป็นผู้กำหนดความหนาของแต่ละชั้นตามข้อมูลปริมาณการจราจร และสภาพของดินเดิมในพื้นที่นั้นๆ
2. การกำหนดดินที่จะนำมาใช้สำหรับผสม จะได้จากการสำรวจแหล่งดินในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย โดยก่อนที่จะตกลงใช้ดินจากแหล่งนั้นๆ ต้องนำดินจากแหล่งมาทดสอบหาคุณสมบัติเบื้องต้นดังต่อไปนี้
2.1 Sieve Analysis ตามมาตรฐาน AASHTO T27-70
2.2 Liquid Limit ตามมาตรฐาน AASHTO T89
2.3 Plastic Limit ตามมาตรฐาน AASHTO T90
2.4 L.A. Abrasion ตามมาตรฐาน ASTM C131
3. การออกแบบส่วนผสมในห้องทดลอง จะต้องออกแบบส่วนผสม Polymer Chemroad Base ให้ได้ Unconfined Compressive Strength ไม่ต่ำกว่า 105% ของ 17.5 kg./cm2 หรือค่าที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
3.1 เก็บตัวอย่างดินจากแหล่งที่จะนำมาใช้มาทดสอบหา Optimum Moisture Content และ Maximum Dry Density ตามมาตรฐาน AASHTO T180
3.2 นำดินที่จะทดสอบมาทำการหา Moisture Content และคำนวณหาน้ำหนักดินแห้ง (Dry Weight)
3.3 หาปริมาณปูนซีเมนต์ที่เหมาะสม โดยเริ่มที่ปริมาณปูนซีเมนต์ 3% ของน้ำหนักดินแห้ง
3.4 ผสมปูนซีเมนต์ให้เข้ากับดิน
3.5 ใช้ Polymer 5% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำที่ Optimum Moisture Content ของดินนั้น จากนั้นผสมเข้ากับส่วนผสมแห้งของปูนซีเมนต์ และดินให้เข้ากันดี ทำการ Compact ตามมาตรฐาน AASHTO T180
3.6 นำก้อนตัวอย่างจากข้อ 5 บ่มในถุงพลาสติกเป็นเวลา 7 วัน
3.7 ทำเช่นเดียวกันกับข้อ3 -6 โดยเปลี่ยนปริมาณปูนซีเมนต์เป็น 4,5,6,7 และ 8% โดยใช้ปอร์เซ็นต์ Polymer ที่ 5% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์
3.8 เมื่อบ่มครบ 7 วัน ให้นำก้อนตัวอย่างออกจากถุงพลาสติกแล้วนำไปแช่น้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
แล้วนำไปทดสอบหา Unconfined Compressive Strength ตามาตรฐาน AASHTO T208 จากนั้นจึงหาค่าเฉลี่ย Compressive Strength ของแต่ละเปอร์เซนต์ของปูนซีเมนต์
3.9 นำค่าเฉลี่ย Compressive Strength ของแต่ละเปอร์เซ็นต์ปูนซีเมนต์ที่ได้จากข้อ 8 มาเขียนกราฟจะได้ความสัมพันธ์ระหว่าง Compressive Strength ของ Polymer เปอร์เซ็นต์ปูนซีเมนต์ที่ใช้
3.10 จากข้อ 9 ทำการหาเปอร์เซ็นต์ปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสมเพื่อให้ได้ Compressive Strength ตามที่ต้องการ (17.5 kg/cm2)
3.11 จากเปอร์เซ็นต์ปูนซีเมนต์ที่ใช้ผสมที่ได้จากข้อ 10 ให้ทำการหา Maximum Dry Density และ Optimum Moisture Content (OMC) ของดินซีเมนต์ตามเปอร์เซ็นต์ปูนซีเมนต์ค่าที่ตกลงใช้ เพื่อให้ได้ค่าที่แท้จริงสำหรับนำไปใช้ในสนาม
3.12 กรณีที่เป็นโครงการก่อสร้างที่ไม่ใหญ่มาก หรือเป็นถนนที่การจราจรไม่สูงนัก หรือความจำเป็นด้านเวลาที่มำให้ไม่สามารถออกแบบส่วนผสมในห้องทดลองได้อาจใช้ตาราง Mixed Design    เป็นไกด์ไลน์ ซึ่งเป็นตารางที่แยกประเภทดินแต่ละชนิด

จากการออกแบบส่วนผสมทำให้ทราบค่าที่จำเป็นต้องใช้คือ

- เปอร์เซ็นต์ปูนที่ใช้ผสม และปริมาณ Polymer ที่ต้องใช้จริง

- ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการบดอัด

- ความหนาแน่นแห้งสูง

 
« StartPrev123456NextEnd »

Page 2 of 6



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved Chemroad.com
J Smith Holding Co.,Ltd. 301/344 Prachachuen 12 Yak 1-2-35 Thongsonghong Laksi, Bangkok 10210 Thailand
Tel. 02-589-9586, (66)81-633-2992, (66)86-633-2992